1.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาพ

ความหมายของภาพกราฟิก

กราฟิก (Graphic)เป็นคำมาจากภาษากรีกว่า Graphikos หมายถึง การเขียนภาพด้วยสีและเขียนภาพขาวดำและคำว่า Graphein มีความหมายทั้งการเขียนด้วยตัวหนังสือและการสื่อความหมายโดยการใช้เส้น เมื่อรวมทั้งคำ Graphikos และ Graphein เข้าด้วยกันวัสดุกราฟิกจะหมายถึงวัสดุใด ๆ ซึ่งแสดงความจริง แสดงความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด ภาพเขียน และอักษรข้อความรวมกันภาพวาดอาจจะเป็น แผนภาพ(Diagram) ภาพสเก็ต(Sketch) หรือแผนสถิติ (Graph) หรืออาจเป็นคำที่ใช้เป็นหัวเรื่อง (Title) คำอธิบายเพิ่มเติมของแผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ และภาพโฆษณา อาจวาดเป็นการ์ตูนในรูปแบบหรือประเภทต่างๆ ภาพสเก็ต สัญลักษณ์ และภาพถ่าย สามารถใช้เป็นวัสดุกราฟิกเพื่อสื่อความหมายในเรื่องราวที่แสดงข้อเท็จจริงต่าง ๆได้
 แหล่งที่มา : http://graphicchatbamm403no59-61.blogspot.com/2012/11/blog-post_197.html

องค์ประกอบของภาพ 
        การจัดองค์ประกอบในภาพ (Composiitioning) จะทำให้ภาพมีคุณค่าน่าดึงดูดใจ ทำให้ภาพดูแตกต่างจากภาพธรรมดาทั่ว ๆ ไปเป็นภาพที่มีความหมาย

กฎสามส่วน (Rule of Thirds) การจัดองค์ประกอบของภาพให้ดูดีประการหนึ่งคือการเลือกวางตำแหน่งจุดสนใจของภาพ โดยการแบ่งด้านกว้างและด้านยาวออกเป็นด้านละสามส่วนจะทำให้ภาพถูกแบ่งออกมาได้ ช่อง จุดที่เส้นแบ่งตัดกันจะมีอยู่ จุดด้วยกัน จุดใดจุดหนึ่งของจุดทั้งสี่ ถือเป็นตำแหน่งสำหรับวางส่วนสำคัญที่สุดของภาพ ซึ่งจะทำให้ภาพมีคุณค่าขึ้น ช่างภาพมือใหม่มักจะวางจุดสนใจไว้ที่กลางภาพเนื่องจากยังไม่คุ้นกับการมองผ่านช่องมองภาพ หรือมัวพะวงมุ่งสนใจกับวัตถุที่จะถ่าย ดังนั้นหากเราฝึกกวาดสายตาดูรอบ ๆ ภาพที่ช่องมองภาพแล้วเลือกว่าจะเลื่อนจุดสนใจไปยังจุดใดจุดหนึ่งของสี่จุดดังกล่าว เราก็จะได้ภาพที่ดูดีขึ้น       อนึ่ง การวางจุดสนใจไว้ ณ ตำแหน่งต่าง ๆ ดังกล่าวไม่ใช่เป็นข้อบังคับเป็นเพียงแนวทางสำหรับการจัดภาพทั่ว ๆ ไป ช่างภาพอาจมีแนวทางการวางที่ต่างออกไปแล้วแต่แนวคิดในภาพแต่ละภาพ

ความสมดุลของภาพ (Balancing Elements) ในการจัดวางจุดสนใจเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งของภาพตามกฏสามส่วนนั้น ทำให้น้ำหนักของภาพหนักไปทางด้านนั้น ส่วนอีกด้านหนึ่งจะดูโล่ง จึงควรหาจุดสนใจรอง ๆ ไว้อีกด้านหนึ่งเป็นการถ่วงน้ำหนักให้ภาพดูสมดุลขึ้น ทั้งนี้ก็อย่าให้จุดสนใจรองนั้นมาลดความเด่นของจุดสนใจหลักจนเกินไป
เส้นนำสายตา (leading Line) โดยธรรมชาตินั้น เมื่อเรามองไปยังภาพ ตาของคนเราจะเคลื่อนไปตามเส้นสายต่าง ๆ ที่ปรากฏในภาพ ดังนั้น เราสามารถที่จะจัดองค์ประกอบของภาพให้มีเส้นสาย และให้ผู้ชมเคลื่อนสายตาไปตามเส้นสายนั้น (เส้นสายเหล่านี้อาจจะเป็นถนน ธารน้ำ ทิวเขา เส้นแบ่งของสีสัน เส้นแบ่งความเข้มของแสง ขอบเงาของวัตถุ ฯลฯ) ผ่านจุดสนใจจนเลยไกลออกไป เส้นสายเหล่านี้อาจจะมีรูปทรงเป็นเส้นตรง เส้นเฉียง เส้นโค้ง เส้นซิกแซก ฯลฯ 

ความสมมาตรและความเป็นแบบแผน (Symmetry and Patterns) เราสามารถสร้างสรรค์ภาพที่มีความสมมาตรและเป็นแบบแผนดูน่าเบื่อหน่าย ให้ดูน่าสนใจได้หากสามารถนำเสนอในมุมมองที่ผู้ชมไม่ได้คาดคิดมาก่อน ในขณะที่เรากำลังเดินหามุมภาพ ให้ลองฉุกคิดดูว่าช่วงบริเวณนั้นมีโครงสร้างอะไรที่เป็นแบบแผน มีความสมมาตร อาจเป็นอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หรือป่าเขา ลองส่องช่องมองกล้องดู ก็อาจได้ภาพที่มีคุณค่าได้ และหากเรามีการคิดต่างออกไปโดยวางจุดสนใจลงไปที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งของภาพประเภทนี้ ก็อาจได้ภาพที่ดูดีด้วยก็ได้

มุมมอง (Viewpoint) ก่อนที่จะลงมือถ่ายภาพให้ลองใช้เวลาสักนิดคิดหามุมที่จะตั้งกล้องสำหรับบันทึกภาพ แทนที่จะเป็นมุมมองในระดับสายตาซึ่งดูจำแจ หากลองก้มลงในมุมต่ำใกล้ระดับพื้น หรือตะแคงกล้องทำมุมเอียง ๆ กับพื้น หรือปีนไปถ่ายในมุมสูง ฯลฯ อาจได้มุมมองที่ต่างออกไป และสามารถสร้างความเร้าใจให้ผู้ชมภาพนั้น ๆ ได้

ฉากหลัง (Background) บ่อยครั้งที่ภาพบางภาพที่น่าจะดูดีแต่พบว่าจุดสนใจกลับดูไม่เด่นพอ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะฉากหลังดูวุ่นวายแย่งความสนใจจากจุดสนใจหลัก ดังนั้น ในการถ่ายภาพให้หามุมกล้องที่ฉากหลังดูค่อนข้างเรียบ ไม่มีอะไรรกสายตา ไม่มีแสงสีที่จะมาแย่งตายตาไปจากจุดสนใจ อีกทางหนึ่งคือ เปิดขนาดของอะเพอร์เจอร์ให้ใหญ่ขึ้นเพื่อให้ระยะชัดลึกน้อยลงทำให้ฉากหลังพร่ามัว การถ่ายของชิ้นเล็ก ๆ เช่นการถ่ายภาพดอกไม้ เราสามารถใช้ระดาษที่มีสีโทนมืดไปไว้ด้านหลังของดอกไม้ที่จะถ่ายเพื่อทำเป็นฉากหลัง ก็จะทำให้ภาพของดอกไม้ดูโดดเด่นขึ้น


ความลึก (Depth) แม้ว่าภาพถ่ายจะเป็นภาพสองมิติ เราสามารถถ่ายทอดให้ภาพดูมีความลึกเพิ่มอีกมิติหนึ่งได้ โดยการจัดภาพให้มีทั้งฉากหน้า วัตถุ และฉากหลัง ทำให้แต่ละช่วงดูต่างจากกัน อาจจะต่างกันที่โทนสี น้ำหนักของแสง ความคมชัด ด้วยการจัดวางที่ดีทำให้ภาพดูมีความลึกขึ้น

กรอบภาพ (Framing) ภาพบางภาพอาจดูโล่ง ๆ แต่หากเราแต่งภาพโดยให้มีฉากหน้า เช่นให้มีกิ่งไม้ใบไม้มาแซม ๆ ที่ขอบภาพ สามารถทำให้ภาพดูดขึ้นไม่โล่งเหมือนเดิม การประกอบภาพด้วยขอบประตู หรือขอบหน้าต่างไว้ในบริเวณขอบของภาพสักสองถึงสี่ด้านก็ช่วยให้ภาพนั้น ๆ ดูไม่โล่งจนเกินไปได้เช่นกัน การจัดให้มีกรอบภาพแบบธรรมชาตินี้ยังเป็นเทคนิคที่ช่วยให้จุดสนใจดูเด่นขึ้นและยังเพิ่มมิติให้กับภาพได้

การตัดส่วนเกิน (Cropping) บางครั้งการถ่ายภาพมีข้อจำกัดทำให้ไม่สามารถถ่ายภาพวัตถุหลักให้มีขนาดใหญ่เท่าที่ต้องการอาจจะเนื่องจากถ่ายในระยะไกลเกินไป หรือบางครั้งภาพที่ถ่ายนั้นพบว่าจุดสนใจหลักถูกแย่งความสนใจจากสิ่งที่อยู่รอบ ๆ  การตัดขอบภาพในส่วนที่ไม่จำเป็นออกไปจึงช่วยแก้ปัญหานี้ได้ ช่วยทำให้สัดส่วนของจุดสนใจให้ใหญ่ขึ้นเทียบกับพื้นที่ที่เหลืออยู่ ในขณะที่กำลังเลือกส่วนเกินที่จะตัดออกนั้น ให้พิจารณาดูว่าตำแหน่งของจุดสนใจจะถูกเลื่อนไปอยู่ในตำแหน่งใดของภาพ ให้ใช้กฏสามส่วนมาปรับปรุงให้ภาพสมบูรณ์ขึ้น การตัดส่วนเกินออกก็มีข้อเสียคือทำให้รายละเอียดของภาพด้อยลง จึงไม่ควรทำการตัดส่วนเกินออกมากจนเกินไป และหากเป็นไปได้ ในช่วงทำการบันทึกภาพให้เดินเข้าไปใกล้วัตถุมากขึ้น หรือใช้เลนส์ซูมดึงภาพให้เข้ามาใกล้ขึ้น


สีในงานคอมพิวเตอร์กราฟิก   
สีที่ใช้ในงานด้านกราฟิกทั่วไปมี 4 ระบบ คือ
1. RGB         2.CMYK

3. HSB          4. LAB
             1.RGB color
เป็นระบบสีที่ประกอบด้วยแม่สี 3 สีคือ แดง (Red), เขียว (Green) และสีน้ำเงิน (Blue) เมื่อนำมาผสมกันทำให้เกิดสีต่างๆ บนจอคอมพิวเตอร์มากถึง 16.7 ล้านสี ซึ่งใกล้เคียงกับสีที่ตาเรามองเห็นปกติ สีที่ได้จากการผสมสีขึ้นอยู่กับความเข้มของสี โดยถ้าสีมีความเข้มข้นมาก เมื่อนำมาผสมกันจะทำให้เกิดเป็นสีขาว จึงเรียกระบบสีนี้ว่า แบบ Additive หรือการผสมสีแบบบวก
2.CMYK color
เป็นระบบสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ออกทางกระดาษหรือวัสดุผิว เรียกอื่นๆ ซึ่งประกอบด้วยสีหลัก 4 สีคือ สีฟ้า (Cyan), สีม่วงแดง (Magenta), สีเหลือง (Yellow), และสีดำ (Black) เมื่อนำมาผสมกันจะเกิดสีเป็นสีดำแต่จะไม่ดำสนิทเนื่องจากหมึกพิมพ์มีความไม่ บริสุทธิ์ จึงเป็นการผสมสีแบบลบ (Subtractive) หลักการเกิดสีของระบบนี้คือ หมึกสีหนึ่งจะดูดกลืนแสงจากสีหนึ่งแล้วสะท้อนกลับออกมาเป็นสีต่างๆ เช่น สีฟ้าดูดกลืนแสงของสีม่วงแล้วสะท้อนออกมาเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งจะสังเกตได้ว่าสีที่สะท้อนออกมาจะเป็นสีหลักของระบบ RGB การเกิดสีนี้ในระบบนี้จึงตรงข้ามกับการเกิดสีในระบบ RGB
3.HSB color
เป็นระบบสีแบบการมองเห็นของสายตามนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
Hue คือสีต่างๆ ที่สะท้อนออกมาจากวัตถุแล้วเข้าสู่สายตาของเรา ซึ่งมักเรียกสีตามชื่อสี เช่น สีเขียว สีแดง สีเหลือง เป็นต้น
     -Saturation คือความสดของสี โดยค่าความสดของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนด Saturationที่ 0 สีจะมีความสดน้อย แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสดมาก
     -Brightness คือระดับความสว่างของสี โดยค่าความสว่างของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 ความสว่างจะน้อยซึ่งจะเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสว่างมากที่สุด


4. LAB color
เป็นระบบสีที่ไม่ขึ้นกับอุปกรณ์ใด ๆ (Device Independent) โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
“L” หรือ Luminance เป็นการกำหนดความสว่างซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 จะกลายเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดที่ 100 จะกลายเป็นสีขาว
“A” เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีเขียวไปสีแดง    “B” เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีน้ำเงินไปสีเหลือง



ประเภทของภาพกราฟิก
มี 2 ประเภท ได้แก่
      1. ภาพราสเตอร์ (Raster )
      2. ภาพแบบ Vector
.          

      1. ภาพราสเตอร์ (Raster )
               หรือเรียกว่าภาพแบบ Bitmap ก็ได้ เป็นภาพที่เกิดจากการเรียงตัวกันของจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หลากหลายสี ซึ่งเรียกจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ นี้ว่าพิกเซล (pixels)  ถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลให้กับภาพน้อย เวลาขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น จะมองเห็นภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ หรือถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลให้กับภาพมาก ก็จะทำให้แฟ้มภาพมีขนาดใหญ่  ดังนั้นการกำหนดจำนวนพิกเซลต้องให้เหมาะกับงานที่จะสร้าง

     ตัวอย่าง

               -  ภาพใช้งานทั่ว ๆไป ให้กำหนดพิกเซล ประมาณ 100-150 Pixel
               -  ภาพที่ใช้บนเว็บไซต์ ให้กำหนดพิกเซล ประมาณ 72 Pixel
               -  ถ้าเป็นภาพแบบงานพิมพ์ เช่น นิตยสาร โปสเตอร์ขนาดใหญ่
                  จะกำหนดพิกเซลประมาณ 300-350 Pixel
    ข้อดีของภาพชนิด Raster
               -  สามารถแก้ไขปรับแต่งได้
               -  ตกแต่งภาพได้ง่ายและสวยงาม

    นามสกุลที่ใช้เก็บภาพแบบ Raster

นามสกุลที่ใช้เก็บ
ลักษณะงาน
โปรแกรมที่ใช้สร้าง
.JPG, JPEG, JPE,.GIF
ใช้สำหรับรูปภาพทั่วไป งานเว็บเพจ และงานที่มีความจำกัดด้านพื้นที่หน่วยความจำ
โปรแกรม Photoshop, PaintShopPro , Illustrator
.TIFF , TIF
เหมาะสำหรับงานด้านนิตยสาร เพราะมีความละเอียดของภาพสูง
.BMP , DIB
ไฟล์มาตรฐานของระบบปฏิบัติการ
วินโดว์
โปรแกรม PaintShopPro , Illustrator

2. ภาพแบบ Vector
               เป็นภาพที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณ ซึ่งภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง รูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพไม่ลดลง แฟ้มภาพมีขนาดเล็กกว่าภาพแบบ Raster
      
       ข้อดีของภาพชนิด Vector
       -  นิยมนำไปใช้ในด้านสถาปัตย์ตกแต่งภายในและการออกแบบต่าง ๆ เช่น การออกแบบอาคาร การออกแบบรถยนต์ การสร้างโลโก้ การสร้างการ์ตูน

      โปรแกรมที่นิยมนำมาสร้างภาพแบบ Vector
        -  โปรแกรม Illustrator
        -  CorelDraw
        -  AutoCAD
        -  3Ds max ฯลฯ

      นามสกุลที่ใช้เก็บภาพแบบ Vector

นามสกุลที่ใช้เก็บ
ลักษณะงาน
โปรแกรมที่ใช้สร้าง
.AI,.EPS
ใช้สำหรับงานที่ต้องการความละเอียดของภาพมาก เช่น การสร้างการ์ตูน การสร้างโลโก เป็นต้น
โปรแกรม Illustrator
.WMF
ไฟล์มาตรฐานของระบบปฏิบัติการ
วินโดว์
โปรแกรม CorelDraw


ชนิดและรูปแบบไฟล์กราฟิก
1. กราฟิกไฟล์สำหรับอินเทอร์เน็ต
      ไฟล์กราฟิกที่สนับสนุนระบบอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันมี 3 ไฟล์หลัก ๆ คือ
   -ไฟล์สกุล GIF ( Graphics Interlace File)
   -ไฟล์สกุล JPG ( Joint Photographer's Experts Group)
   -ไฟล์สกุล PNG ( Portable Network Graphics) 
         1.1ไฟล์สกุล GIF (Graphics Interlace File)
            เป็น ไฟล์กราฟิกมาตรฐานที่ทำงานบนอินเทอร์เน็ต มักจะใช้เมื่อ ต้องการไฟล์ที่มีขนาดเล็ก จำนวนสีและ ความละเอียดของภาพไม่สูงมากนัก ต้องการพื้นแบบโปร่งใส ต้องการแสดงผลแบบโครงร่างก่อน แล้วค่อยแสดงผลแบบละเอียด ต้องการนำเสนอภาพแบบภาพเคลื่อนไหว 
จุดเด่น : ขนาดไฟล์ต่ำ สามารถทำพื้นของภาพให้เป็นพื้นแบบโปร่งใสได้ ( Transparent) มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียดในระบบ Interlace มีโปรแกรมสนับการสร้างจำนวนมาก เรียกดูได้กับ Graphics Browser ทุกตัว ความสามารถด้านการนำเสนอแบบภาพเคลื่อนไหว ( Gif Animation) 
จุดด้อย : แสดงสีได้เพียง 256 สี
         ไฟล์ .GIF มี 2 สกุล ได้แก่ GIF87 พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1987 เป็นไฟล์กราฟิกรุ่นแรกที่สนับสนุนการนำเสนอบนอินเทอร์เน็ต เป็นไฟล์ที่มีขนาดเล็กและแสดงผลสีได้เพียง 256 สี และกำหนดให้แสดงผลแบบโครงร่างได้ (Interlace) GIF89A พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1989 เป็นไฟล์กราฟิกที่พัฒนาต่อจากGIF87 โดยเพิ่มความสามารถการแสดงผลแบบพื้นโปร่งใส ( Transparent) และการสร้างภาพเคลื่อนไหว (GIF Animation) ซึ่งเป็นไฟล์กราฟิกที่มีความสามารถพิเศษโดยนำเอาไฟล์ภาพหลายๆ ไฟล์มารวมกันและนำเสนอภาพเหล่านั้นโดยอาศัยการหน่วงเวลา มีการใส่รูปแบบการนำเสนอลักษณะต่างๆ ( Effects) ในลักษณะภาพเคลื่อนไหว 

         1.2 ไฟล์สกุล JPG (Joint Photographer’s Experts Group)
             เป็น อีกไฟล์หนึ่งที่นิยมใช้บน Internet มักใช้กรณี ภาพที่ต้องการนำเสนอมีความละเอียดสูง และใช้สีจำนวนมาก (สนับสนุนถึง 24 bit color) ต้องการบีบไฟล์ตามความต้องการของผู้ใช้ ไฟล์ชนิดนี้มักจะใช้กับภาพถ่ายที่นำมาสแกน และต้องการนำไปใช้บนอินเทอร์เน็ต เพราะให้ความคมชัดและความละเอียดของภาพสูง
จุดเด่น : สนับสนุนสีได้ ถึง 24 bit สามารถกำหนดค่าการบีบไฟล์ได้ตามที่ต้องการ มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียดในระบบ Progressive มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก เรียกดูได้กับ Graphics Browser ทุกตัว ตั้งค่าการบีบไฟล์ได้ ( compress files) 
จุด ด้อย  : ทำให้พื้นของรูปโปร่งใสไม่ได้ ข้อเสียของการบีบไฟล์ ( Compress File)กำหนดค่าการบีบไฟล์ไว้สูง ( 1 - 10) แม้ว่าจะช่วยให้ขนาดของไฟล์มีขนาดต่ำแต่ก็มีข้อเสีย คือ เมื่อมีการส่งภาพจากServer ไปแสดงผลที่ Client จะทำให้การแสดงผลช้ามาก เพราะต้องเสียเวลาในการคลายไฟล์ ดังนั้นการเลือกค่าการบีบไฟล์ ควรกำหนดให้เหมาะสมกับภาพแต่ละภาพ

         1.3 ไฟล์สกุล PNG (Portable Network Graphics)

จุดเด่น : สนับ สนุนสีได้ถึงตามค่า True color (16 bit, 32 bit หรือ 64 bit) สามารถกำหนดค่าการบีบไฟล์ได้ตามที่ต้องการ มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียด ( Interlace)
สามารถทำพื้นโปร่งใสได้ 
จุดด้อย : หากกำหนดค่าการบีบไฟล์ไว้สูง จะใช้เวลาในการคลายไฟล์สูงตามไปด้วย แต่ขนาดของไฟล์จะมีขนาดต่ำ
ไม่สนับสนุนกับ Graphic Browser รุ่นเก่า สนับสนุนเฉพาะ IE 4 และ Netscape 4 ความละเอียดของภาพและจำนวนสีขึ้นอยู่กับ Video Card โปรแกรมสนับสนุนในการสร้างมีน้อย

2. กราฟิกสำหรับงานพิมพ์          2.1 TIFF (Tagged Image File Format)           
                     TIFF เป็นไฟล์ที่ใช้ได้กับ bitmap เท่านั้น พัฒนาขึ้นโดยความร่วมของ Aldus Corporationและ Microsoft TIFF เก็บบันทึกข้อมูลรูปภาพได้หลากหลายใน Tagged Field จึงกลายเป็นชื่อเรียกของรูปแบบไฟล์ ซึ่งแต่ละ Tagged Field สามารถบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ bitmap หรือชี้ไปยัง Field อื่นได้ ซอฟต์แวร์ที่อ่านไฟล์นี้สามารถข้ามการอ่าน Field ที่ไม่เข้าใจหรือไม่จำเป็นไปได้
        TIFF เป็นรูปแบบที่มีความยืดหยุ่น สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ เนื่องจากมี Tagged Field ให้ใช้ต่างกันหลายร้อยชนิด ไฟล์แบบนี้จึงมีข้อดี คือ ใช้ได้กับโปรแกรมกราฟิกทุกประเภท สามารถใช้ได้ในระบบคอมพิวเตอร์หลายๆ ระบบ และกำหนดขอบเขตที่กว้างขวางของภาพ bitmap ได้ นอกจากนี้ TIFFยังสามารถทำบางสิ่งที่ bitmap อื่นทำไม่ได้ และเป็นรูปแบบที่สนับสนุนทั้งระบบ PC และ Macintosh Tagged Image File Format
นามสกุลที่ใช้เก็บ TIF ระบบปฏิบัติการ Windows, UNIX, Mac Windows เวอร์ชันที่ได้รับการพัฒนาจนถึงปัจจุบัน 5.0 และ 6.0 ซอฟต์แวร์ที่สร้างและเปิดไฟล์ โปรแกรมแก้ไข Bitmap และโปรแกรมDesktop Publishing
เช่น PageMaker, QuarkXPress, CorelVentura, PhotoShop, PaintShop Pro ความสามารถทางด้านสี ขาวดำ 1 บิต, Grayscale (4,8, 16 บิต)แผงสี (ได้ถึง 16 บิต)สี RGB (ได้ถึง 48 บิต)สี CMYK (ได้ถึง 32บิต)
การบีบขนาดข้อมูล LZW, PackBits (Macintosh), JPEG (TIFF v 6.0), RLE หลายรูปแบบ

 
         2.2 EPS (Encapsulated PostScript)             
                    EPS เป็นเซตย่อยของภาษาสั่งการในการจัดหน้าแบบ PostScript ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้อย่างแพร่หลายในการแลกเปลี่ยนรูปแบบภาพกราฟิก ไฟล์แบบ EPS สามารถบรรจุภาพที่ซับซ้อนและมีรายละเอียดอย่างสูงทั้งในรูปแบบ Vector และ Bitmap โดยใส่ไว้ในโปรแกรมการแก้ไข Vector และโปรแกรม Desktop Publishing กราฟิกแบบ EPS มีข้อจำกัดอย่างหนึ่งคือ จะต้องพิมพ์ออกในเครื่องพิมพ์แบบ PostScript เท่านั้น เพราะเครื่องพิมพ์ไม่สามารถแปลรหัสการพิมพ์ PostScript ได้ Encapsulated PostScript นามสกุลที่ใช้เก็บ EPS ระบบปฏิบัติการ Windows, Windows NT, UNIX, Mac Windowsเวอร์ชันที่ได้รับการพัฒนาจนถึงปัจจุบัน EPS เป็นเซตย่อยของ Adobe PostScript
ซอฟต์แวร์ ที่สร้างและเปิดไฟล์ โปรแกรมแก้ไข Vector และโปรแกรม Desktop Publishing เช่นAutoCAD, CorelDRAW, PageMaker, QuarkXPress, Adobe Illustrator ความสามารถทางด้านสี ขยายได้ถึง 24 บิต RGB และ HSB 32 บิต, CMYK, Grayscale, แผงสีแบบอินเด็กซ์ การบีบขนาดข้อมูล การใส่รหัสแบบไบนารี

 
                2.3 PDF (Portable Document Format)                              
             PDF เป็นรูปแบบไฟล์ที่ใช้ในโปรแกรม Adobe Acrobat ใช้สำหรับเอกสารบนสื่ออิเล็คทรอนิกส์ เช่น บนอินเทอร์เน็ตหรือบริการออนไลน์ต่างๆ เนื่องจากเป็นไฟล์ขนาดเล็กทำให้สามารถสร้างเอกสาร เช่น โบร์ชัวร์ หรือ แค็ทตาล็อกส่งไปทางอินเทอร์เน็ตได้ ใช้ได้กับทั้งแบบ Bitmap และ Vectorและสนับสนุนทั้งระบบ PC และ Macintosh
             PDF เหมาะสำหรับเอกสารทางเทคนิคที่จะเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต ผู้อ่านสามารถพิมพ์ออกมาได้หรือเรียกดูได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพราะรูปแบบ อักษรที่ใช้ประกอบอยู่ในตัวซอฟต์แวร์แล้ว และเนื่องจากใช้ตัวอักษรแบบ PostScript ซึ่งเป็น vector-based จึงสามารถย่อและขยายได้ตามต้องการ โดยคุณภาพของงานไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งยังสามารถนำไปสร้างเป็นเอกสาร แบบ Illustration หรือ Bitmap ได้อีกด้วย และเมื่อพิมพ์ออกมาก็จะไม่เสียคุณภาพ ไม่ว่าจะใช้ค่าความละเอียดของภาพเป็นเท่าใด เช่นเดียวกับไฟล์ประเภท Vector อื่นๆ เช่น PS หรือ PRN นอกจากนี้ PDF เป็นไฟล์ที่ประกอบด้วยข้อมูลPostScript จึงสามารถนำไปใช้ในโปรแกรมตกแต่งแก้ไขภาพ หรือ โปรแกรมประเภท Illustration ได้เช่นเดียวกับ EPS Portable Document Format นามสกุลที่ใช้เก็บ PDF ระบบปฏิบัติการ Windows, Mac OS, UNIX และ Dos ซอฟต์แวร์ที่สร้างและเปิดไฟล์ PhotoShop, Acrobat ความสามารถทางด้านสี RGB, Indexed-Color, CMYK, GrayScale, Bitmap และ Lap Color

http://group12lovely.blogspot.com/2011/10/blog-post_3475.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น