15.การแทรกข้อความ Type เข้าไปในชิ้นงาน

การใส่ข้อความในชิ้นงาน
Photoshop CC สามารถพิมพ์ตัวอักษรหรือข้อความยาว ๆ ลงบนภาพได้ รวมทั้งกำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ ได้คล้ายกับโปรแกรม Microsoft Word เช่น ฟอนต์ (Font) ขนาดและสีตัวอักษร ระยะห่างระหว่างบรรทัด วิธีจัด ข้อความในย่อหน้า และอื่น ๆ ตัวอักษร (Type) จัดเป็นภาพประเภทเวคเตอร์แบบหนึ่ง  ดังนั้น จึงย่อ หรือขยายให้มีขนาดเท่าไรก็ได้ โดยที่ยังคมชัดเหมือนเดิม นอกจากนี้ ยังสามารถเปลี่ยนตัวอักษร เป็นรูปทรง และเส้นพาธเพื่อนำไปดัดแปลง รูปร่าง และเปลี่ยนเป็นภาพราสเตอร์ เพื่อปรับแต่งด้วยเครื่องมือระบายสี และเครื่องมือปรับสี หรือแสงเงา ต่าง ๆ ได้

กลุ่มเครื่องมือ Type
 Horizontal Type  คือ  ใช้พิมพ์ข้อความแนวนอน
Vertical Type คือ ใช้พิมพ์ข้อความแนวตั้ง
Horizontal Type Mask คือ ใช้สร้าง Selection เป็นรูปข้อความในแนวนอน
Vertical Type Mask คือ ใช้สร้าง Selection เป็นรูปแบบข้อความในแนวตั้ง 

ผลที่ได้จากเครื่องมือและ  จะอยู่บนเลเยอร์พิเศษที่เรียกว่า เลเยอร์ข้อความ  (Type Layer) ซึ่งเราสามารถแก้ไขตัวสะกดหรือจัดรูปแบบใหม่ได้

  สำหรับผลจากเครื่องมือ และ  จะได้เป็น Selection ตามรูปร่างของข้อความ ซึ่งนำไปใช้ได้เช่นเดียวกับ Selection ที่สร้างด้วยวิธีอื่น ๆ แต่จะแก้ไขตัวสะกดไม่ได้

แถบ Option Bar ของ ตัวอักษร Type
แถบสีแดง  คือ ส่วนที่ใช้เปิดเครื่องมือ Preset Pigger
แถบสีส้ม  คือ การเปลี่ยนรูปแบบตัวอักษร
แถบสีเขียว  คือ ลักษณะของตัวอักษร เช่น ตัวหนา  ตัวเอียง ขีดเส้นใต้ และแบบปกติ
แถบสีเหลือง   คือ  ขนาดของตัวอักษรที่จะให้ปรากฏ
แถบสีฟ้า  คือ ปรับรูปทรงของตัวหนังสือ
แถบสีม่วง  คือ  การจัดตำแหน่งข้อความบนชิ้นงาน
แถบสีน้ำตาล  คือ การกำหนดสีของตัวอักษร
แถบสีชมพู  คือ  การปรับความโค้งมนของข้อความ
แถบสีเขียวอ่อน  คือ การปรับค่า Toggle ตัวอักษร แบบละเอียด
แถบสีเทา  คือ การยกเลิก และนำไปใช้ ของการตั้งค่าข้างต้นทั้งหมด
แถบสีน้ำเงิน  คือ รูปแบบอักษร 3 มิติ

ส่วน Option Type เพิ่มเติมที่เรียกว่า Toggle จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1.ส่วนของ Character 
2.ส่วนของ Paragraph  

 เดี๋ยวจะเริ่มอธิบายไปที่ส่วน โดยเริ่มจาก ส่วนของ Charecter
1. 
     การเปลี่ยนรูปแบบตัวอักษร
2. 
     ลักษณะของตัวอักษร เช่น ตัวหนา  ตัวเอียง ขีดเส้นใต้ และแบบปกติ
3. 
     ปรับขนาดของตัวอักษรที่จะให้ปรากฏ
4.

         Leading ระยะห่างระหว่างข้อความ บรรทัด ปัจจุบัน กับบรรทัดก่อนหน้า ซึ่งถ้าเลือกเป็น Auto ระยะ จะปรับอัตโนมัติ ตาม ขนาดตัวอักษร เราสามารถกำหนด Leading ของอักษรแต่ ละตัว ในบรรทัดให้เท่ากัน แต่ระยะจริงจะเป็นไปตามค่าที่มากที่สุด
5. 

Kerning ช่องไฟระหว่างตัวอักษรคู่ใดคู่หนึ่งโดยเลือกใช้ได้ 3 แบบ คือ
Metrics ใช้ค่าตามที่ถูกฝังมากับฟอนต์ (สำหรับอักษรคู่นั้น ๆ)
Opitcal ให้โปรแกรมคำนวณค่าอัตโนมัติ โดยขึ้นอยู่กับรูปร่างของอักษรคู่นั้น
ตั้งค่าเอง โดยเลือกจากเมนูหรือพิมพ์ค่าที่ต้องการลงไป
6. 
Tracking ช่องไฟระหว่างตัวอักษรซึ่งมักใช้กำหนดให้กับข้อความทีละมาก ๆ เช่น
ทั้งบรรทัดหรือทั้งย่อหน้า
7. 
การปรับความสูงของตัวอักษร
8.
การปรับความกว้างของตัวอักษร
9.
การยกตัวอักษรขึ้น จากพื้นฐานเดิม
10.
การเปลี่ยนสีของตัวอักษร
11.
การกำหนดรูปแบบตัวอักษร
12.
การใส่สัญลักษณ์ทางด้านต่างๆ
13.
การเลือกภาษาที่จะพิมพ์ข้อความ
14.
การปรับรูปร่างโดยรวมของตัวอักษร

ต่อมาในส่วนที่ 2.ส่วนของ Paragraph






1.
 
การจัดรูปแบบของข้อความที่จะให้แสดงบนชิ้นงาน



2. การจัดส่วนเนื้อหาให้มีความสมดุล

3. การเว้นระยะห่างของข้อความในส่วนหัวและส่วนท้าย


เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้ส่วนประกอบของเครื่องมือ Type หรือตัวอักษร ต่อมานักเรียนจะได้รู้วิธีการใส่ตัวอักษร หรือข้อความ บนชิ้นงานของนักเรียนกัน  มาเริ่มกันเลย
1.ให้นักเรียนสร้างชิ้นงาน Project ขึ้นมาใหม่โดยให้ตั้งชื่อ Project ว่า Type ดังภาพ

2.ต่อมาจะปรากฏหน้าต่างออกแบบชิ้นงาน ให้นักเรียน คลิ๊กเครื่องมือ “Type” จากนั้นให้พิมพ์ข้อความลงบนหน้าต่างออกแบบได้เลย เมื่อนักเรียนพิมพ์ข้อความเสร็จแล้วนั้น ให้นักเรียนปรับแต่ง ข้อความ โดยไปที่ ส่วนของ Option Bar ดังภาพด้านล่าง ให้นักเรียนสังเกตทางด้านขวามือจะเห็นว่ามีเลเยอร์ปรากฏเพิ่มขึ้นมา เลเยอร์นั้น คือ เลเยอร์ ข้อความนั้นเอง
3.ถ้านักเรียนต้องการจะกลับมาแก้ไขส่วนของข้อความ นักเรียนจะต้องมาคลิ๊ก เลือกที่ เลเยอร์ข้อความนั้นก่อนแล้วถึงจะสามารถแก้ไขได้

4.เสร็จขั้นตอนการใส่ข้อความ ในชิ้นงานของนักเรียนเอง เรียบร้อย ชั่วโมงต่อไปนักเรียนจะได้เรียนรู้วิธีการแทรกภาพเข้าไปในชิ้นงาน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น