20.กฎหมายเกี่ยวกับ การเผยแพร่ภาพ ตัดต่อ/ดัดแปลง

มาตรา 16 การเผยแพร่ภาพ ตัดต่อ/ดัดแปลง
มาตรา 16 การเผยแพร่ภาพ ตัดต่อ/ดัดแปลง : ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น  และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอื่นใด  ทั้งนี้  โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง  ถูกดูหมิ่น  ถูกเกลียดชัง  หรือได้รับความอับอาย   ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้ากระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต  ผู้กระทำไม่มีความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้  ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตามเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย ความผิดอื่นใดอาจไม่ได้รับโทษตาม พ.ร.บ. นี้เพียงอย่างเดียวต้องดูองค์ประกอบ  และกฎหมายฉบับอื่นประกอบด้วย  เช่น  พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์พ.ร.บ.  ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์, ความผิดทางแพ่ง, อาญา
1)ความผิดฐานเผยแพร่ ซึ่งสื่อลามกอนาจาร ตามประมวลกฎหมาย อาญา
มาตรา 287 ที่ระบุว่า
ผู้ใด ทำให้เผยแพร่โดยประการใดๆ ซึ่งเอกสาร ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งพิมพ์ รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย ภาพยนตร์ แถบบันทึกเสียงหรือ แถบบันทึกภาพ หรือสิ่งอื่นใดอันลามก

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 6 พันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

2)ความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 326 และ 328 ซึ่งระบุว่า

มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 328 ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏด้วยวิธีใด แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียงอย่างอื่น กระทำโดยการกระจายเสียง หรือโดยการกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่นใด ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

ข้อที่พรบ.สิขสิทธิ์ได้ยกเว้นไว้
มาตรา ๓๗ การวาดเขียน การเขียนระบายสี การก่อสร้าง การแกะลายเส้น การปั้น การ แกะสลัก การพิมพ์ภาพ การถ่ายภาพ การถ่ายภาพยนตร์ การแพร่ภาพ หรือการ กระทำใด ๆ ทำนอง เดียวกันนี้ซึ่งศิลปกรรมใดอันตั้งเปิดเผยประจำอยู่ในที่สาธารณะ นอกจากงานสถาปัตยกรรม มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมนั้น

มาตรา ๓๘ การวาดเขียน การเขียนระบายสี การแกะลายเส้น การปั้น การแกะสลัก การ พิมพ์ภาพ การถ่ายภาพ การถ่ายภาพยนตร์หรือ การแพร่ภาพซึ่งงานสถาปัตยกรรมใด มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสถาปัตยกรรมนั้น

มาตรา ๓๙ การถ่ายภาพหรือการถ่ายภาพยนตร์หรือการแพร่ภาพซึ่งงานใด ๆ อันมีศิลปกรรมใด รวมอยู่เป็นส่วนประกอบด้วย มิให้ถือว่าเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมนั้น

ยกกรณีตัวอย่าง
ผมจะขอยก กรณีต่างๆ มาแสดง ประกอบความเห็นของผม ซึ่งผมอาจสรุปและตีความไม่ตรงได้ ขอให้ผู้รู้ช่วยสรุปในทางที่ถูกต้องให้ด้วย
ก. ถ่ายภาพนางแบบ ในงานต่างๆ
แนวทางสรุป   ถ่ายได้ และนำลงได้ เพราะ ถือว่าอนุญาตแล้ว เช่นงานมอเตอร์โชว์ต่างๆ แม้ไม่ใช่ที่สาธารณะ แต่วัตถุประสงค์ของงานที่จัด เพื่อต้องการเผยแพร่อยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ถ้าภาพที่ได้นำลง เผยแพร่ ทำให้ผู้ถูกถ่ายเขาเสียหาย ย่อมฟ้องได้เช่นกัน การรับผิดการนำสืบว่ากันไปตามลำดับ

ข. ถ่ายภาพ ผลงานงานแสดง ต่างๆ เช่น งานศิลปกรรม ในแกลเลอรี่
แนวทางสรุป   ตัวผลงานถ่ายไม่ได้ แต่ ถ่ายคนถ่ายบรรยากาศ แล้วติดไป ย่อมได้ ถ้าได้รับอนุญาตจากเจ้าของพื้นที่เจ้าของงานเปิดตัวนั้นๆ แม้ศิลปินเจ้าของงานจะไม่อนุญาต ก็ถ่ายได้
แต่ถ้า ภาพนั้นตีความได้ว่าเน้นที่ผลงานศิลป์ ก็อาจละเมิดได้

ค. ถ่ายภาพงานแสดง บนเวที ต่างๆ
ถ้าไม่ได้รับอนุญาต ผิดแน่นอน การนำลงก็ยิ่งผิดทั้งละเมิด และ ตีความได้ทันทีว่าทำให้เสื่อมเสียทางธุรกิจ
สรุปการถ่าย การนำลง ต้องได้รับอนุญาต
ผมเห็นคนแอบถ่ายตามงานแสดงบนเวทีต่างๆ มาก ก็ขอเตือน ที่เขาไม่เอาเรื่องนั้น เพราะไม่มีอะไร แต่ไม่ใช่ไม่ผิดนะครับ และการนำลงเผยแพร่ถ้าทำให้เขาเสียหายก็อาจโดนฟ้องได้เช่นกัน

ง. ถ่ายภาพบุคคลต่างๆ ในที่สาธารณะ
แนวทางสรุป ย่อมถ่ายได้ แม้เจ้าตัวไม่อนุญาต ตอนถ่ายไม่ละเมิด แต่ถ้านำไปเผยแพร่ เจ้าตัวก็ย่อมฟ้องได้ ข้อหาละเมิดนั้นอาจต้องพิจารณากันมาก แต่ข้อหาทำให้เสื่อมเสียนั้น ไม่ยากที่จะนำสืบ ขอแค่มีใครบอกว่าเห็นภาพแล้ว รู้สึกดูแคลน ผู้ถูกถ่าย ก็มีน้ำหนักได้แล้ว ที่จะเอาผิดผู้เผยแพร่ อาจเอาผิดผู้ถ่ายไม่ได้ ถ้าผู้ถ่ายไม่ได้เผยแพร่ ถ่ายอย่างเดียวเก็บไว้ดีพอควร แต่รั่วออกมาเอง หรือแพร่ทางอีเมล์ ก็เอาผิดที่ผู้ทำให้รั่วไหลออกมาและนำลง ตามลำดับ

จ. ได้รับภาพต่างๆทางใดๆก็ตาม อีเมล์ รับมาโดยตรง แล้วนำมาลงเว็บ หรือเผยแพร่ต่อทางอื่นๆ

แนวทางสรุป  ก็ดูตามข้อมูลข้างต้น ว่าละเมิดหรือไม่ ทำให้เสื่อมเสียหรือไม่ ตามลำดับ และขอย้ำว่าภาพที่อาจหมิ่นเหม่ต่อการอนาจาร ให้ระวังให้จงหนัก อย่าไปสุ่มเสี่ยง

ฉ. ภาพจากหนังสือ นิตยสารวารสารต่างๆ แล้วทำสำเนานำมาเผยแพร่ต่อ
แบ่งเป็น ไม่ได้ทำเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เช่นภาพในตัวนิตยสารต่างๆ
และทำเพื่อเผยแพร่อยู่แล้ว เช่นใบปิดหนังต่างๆ
         แนวทางสรุป มีส่วนที่เกี่ยวข้องอยู่หลายส่วนเลย ตั้งแต่ผู้ถูกถ่าย ผู้ถ่าย หนังสือที่นำลงพิมพ์ และจะเป็นกรณีต่างๆได้หลากหลายมาก ให้พิจารณาไล่ไปตามกฎหมายที่นำมาให้อ่านข้างต้น ถ้างานนั้นตั้งใจแพร่อยู่แล้ว ก็ไม่ละเมิดอะไร แต่ถ้างานนั้นตั้งใจแพร่แค่ที่ลงในหนังสือ การนำลงลงต่อย่อมละเมิด  แต่ ในอีกกฎหมายหนึ่ง ถ้านำมาลงต่อแล้วทำให้เกิดความเสื่อมเสียดูถูกดูหมิ่นต่างๆ ก็ย่อมฟ้องได้ แล้วน้ำหนักไปทางใดก็ว่ากันไปคดี
ช. ภาพส่งต่อๆมาทางอีเมล์ หรือหนังสือต่างๆ มีการแอบแฝงเพื่อให้ช่วยกันแพร่ภาพ

แนวทางสรุป สุดท้าย แม้ว่าภาพจะหลุดมาจากที่ใดก็ตาม ถ้าเผยแพร่แล้วทำให้เกิดความเสื่อมเสีย คนสุดท้ายที่นำลง ผิดมากที่สุดนะครับ เพราะเป็นผู้ทำให้เกิดความเสื่อมเสียมากที่สุด พูดง่ายๆปลายทางผิดสุด ไม่ใช่ต้นทาง
เช่น ภาพ ที่อาจตั้งใจทำการตลาด แอบแฝง แล้วแกล้งปล่อยหลุดออกมา หรือมีผู้ขโมยออกมา แล้วขายต่อ ส่งต่อๆกันมา แล้วมีผู้นำลงเผยแพร่ คนสุดท้ายผิดมากที่สุดครับ คนแรกผิดแค่ ข้อหาละเมิด แต่คนหลังๆ พ่วงข้อหาอื่นๆไปด้วย จนมาคนสุดท้ายครับ

หรือยกตัวอย่าง ถ่ายภาพมาอย่างถูกต้อง แล้วลงลายน้ำชื่อผู้ถ่ายไว้ ต่อมา มีคนนำไปดัดแปลงตัดต่อ ให้เสื่อเสีย แล้วนำไปลง ใครผิด คนที่ถ่ายแล้วมีลายน้ำติดอยู่ที่เป็นเจ้าของภาพครั้งแรก หรือผู้ดัดแปลงก็ค่อยๆนำสืบ นำแสดงให้ได้ ตามข้อกฎหมายข้างต้น ผมจะลองไล่ลำดับให้ดู ถ้าผู้ถ่าย ไม่เกี่ยวเลย และเก็บรักษางานอย่ารอบคอบตามสมควร แต่มีคนขโมย หรือลักลอบนำภาพไปดัดแปลงแล้ว ส่งเผยแพร่ คนนั้นผิด โดยที่ผู้ถ่ายภาพแม้จะมีลายน้ำในภาพ ก็ไม่ผิด แต่คงต้องแสดงหลักฐานกันเหนื่อย เพราะ ผู้ถูกถ่าย คงต้องฟ้องทั้งหมดทุกคนไว้ก่อน

ซ. กรณีถ่ายภาพที่แสดงอยู่ เช่นใบปิดภาพยนตร์ ที่ปิดตามเสาไฟฟ้า หรือถ่ายผลงานคนอื่นๆ ในหนังสือต่างๆ แล้วนำมาเผยแพร่ต่อก็นำคิดไปตามกฎหมายข้างต้นคงได้ข้อสรุปเองนะครับ

ยกตัวอย่าง
การถ่ายภาพในสถานที่บริการ
ผมขอแบ่งสถานบริการออกเป็น การให้ที่พักเช่นโรงแรมและอื่นๆ
โดยทั่วไป ถือเป็นที่เฉพาะ แต่ สถานที่พักพิงและหย่อนใจ ที่มีจุดขายด้านการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม สวนสามพราน เมืองโบราณ มักจะให้ถ่ายภาพได้ เพราะเขาถือเป็นข้อดีอย่างหนึ่งในการเผยแพร่ ถ้าไม่มีข้อห้ามระบุไว้ (บางแห่งระบุห้ามใช้กล้องใหญ่ ถ่ายกล้องคอมแพ็คได้เป็นต้น) ก็ถ่ายได้เลย นำลงได้เลย ถ้าไม่เสื่อมเสียนะครับ

แต่สถานบริการอื่นๆเช่น โรงพยาบาล ภัตตาคาร ร้านอาหาร โรงภาพยนตร์ ฯลฯ แทบจะทั้งหมดมีข้อห้ามไว้ชัดเจนโดยไม่ต้องบอก เพราะเป็นที่เฉพาะอยู่แล้ว ถ้าไม่ระบุไว้เป็นอย่างอื่นๆ ถือว่าห้ามไว้ก่อน นะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น